14 -ขั้นตอนปูพื้นไม้ลามิเนตให้สวยงาม

พื้นไม้ลามิเนต

พื้นไม้ลามิเนต
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

 มีต้นกำเนิดจากประเทศในแถบยุโรป โดยมีประเทศเยรามันนีเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยีการผลิต เป็นวัสดุปูพื้นที่มาทดแทนไม้ปาร์เก้ และไม้จริง โดยมีข้อดีกว่าด้วยคุณสมบัติที่เป็นจุดเด่น 3 ข้อดังนี้
  • เวลาการติดตั้งที่รวดเร็วกว่า
  • ผิวหน้าสามารถทนทาน ต่อรอยขูดขีด แรงกดกระแทกได้ดีกว่า
  • สามารถเลือกสีผิวหน้าให้เป็นลวดลายที่ต้องการได้ ในขณะที่ไม้ปาร์เก้มีตาไม้จริง ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยง

คุณสมบัติ

  • ผิวหน้ามีความทนทานต่อรอยขูดขีด
  • ผิวหน้าไม่ทำให้ลื่นล้ม
  • มีหลายสีให้เลือก ตามความชอบส่วนบุคคล
  • สามารถทนความร้อนได้ในระดับหนึ่ง ทนต่อสารเคมี และไม่ติดไฟ
  • พื้นไม่เก็บฝุ่นและเชื้อโรค ต่างจากพรม และกระเบื้อง
  • ทำความสะอาดได้ง่าย
  • เหมาะกับการใช้งานในร่ม ที่อยู่อาศัย ร้านค้า ห้องประชุม ทั้งนี้ควรเลือกรุ่นความแข็งแรงให้เหมาะสม
   พื้นไม้ลามิเนต มีความหนา 8 มม.และ 12 มม. มีลิ้นระบบ R-cick ในการติดตั้งไม่ต้องใช้กาว สามารถปูได้ทั้งบนพื้นปูน ปูทับกระเบื้องเซรามิคเดิม ปูทับพื้นปาร์เก้ หินอ่อนและทับบนวัสดุอื่นๆได้ดี


ขั้นตอนการปูพื้นไม้ลามิเนต

1. ขั้นแรกต้องตรวจสอบสภาพความพร้อมของผิวพื้นก่อน
    - ให้ทำความสะอาดพื้น อย่าให้มีเม็ดหิน หรือวัสดุใดอยู่บนพื้น
    - ถ้าเป็นพื้นผิวปูน ต้องมีลักษณะขัดเรียบตลอดทั้งพื้นที่ และมีความสม่ำเสมอกันตลอด รวมถึงระดับพื้นผิวต้องเท่ากัน ถ้าระดับต่างกันมากให้แก้ไขโดยปรับระดับด้วยปูน และพื้นต้องแห้งไม่มีความชื้น
    - ถ้าปูทับพื้นผิววัสดุเดิม เช่น หินขัด, หินอ่อน, กระเบื้องเซรามิค, กระเบื้องยาง, พื้นไม้ปาร์เก้ ต้องตรวจสอบให้แน่นอนว่ามีลักษณะราบเรียบไม่หลุดร่อน ถ้าพื้นเดิมมีปัญหาหลุดร่อน ปลวกกิน ควรทำการแก้ไขก่อนจึงสามารถปูทับได้
    - กรณีเทปูนทรายปรับหน้าพื้นคอนกรีต ควรทิ้งช่วงเวลา 3-4 สัปดาห์
2. คำนวณพื้นที่ห้องเพื่อกำหนดการวางแนวในการปูพื้น โดยคำนวณให้เศษเหลือน้อยที่สุด ซึ่งโดยทั่วไปจะกำหนดการปูเป็น 2 รูปแบบคือ
    - การปูแบบต่อเนื่องหรือก่ออิฐ การปูลักษณะนี้จะต้องเผื่อไม้พื้นที่ต้องใช้ให้มากกว่าพื้นที่จริง ประมาณ 10%
    - การปูแบบต่อเนื่อง การปูลักษณะนี้จะต้องเผื่อไม้พื้นที่ต้องใช้ให้มากกว่าพื้นที่จริงประมาณ 3-5%
    - สำหรับการคำนวณพื้นที่ ที่ไม่ใช่รูปทรงสี่เหลี่ยมเช่นวงกลมหรือสามเหลี่ยม พื้นที่ลักษณะดังกล่าวจะใช้ ไม้พื้นมากกว่าพื้นที่จริงประมาณ 30-40%
3. ปูผิวชั้นแรกด้วย P.E โฟมเพื่อป้องกันความชื้น โดยให้ด้านที่เป็นพลาสติกอยู่ด้านล่างสัมผัสพื้นและปิดรอยต่อด้วยเทปกาว ห้ามให้เกยกันเด็ดขาด 4. ตรวจสอบการเปิดปิดประตู เมื่อปูพื้นเสร็จแล้วประตูต้องห่างจากพื้นปูประมาณ 20 มม. (ต้องทำประตูให้เสร็จก่อนปูพื้นเสร็จ)
5. เริ่มต้นปูต้องเริ่มจากซ้ายไปขวา การประกอบแผ่นที่ 2 เข้ากับแผ่นแรก โดยเอียงประมาณ 45 องศา แล้วกดลงเพื่อให้ไม้เข้าล๊อค
6. การปูต้องต่อพื้น 2 แถวแรกให้เป็นเส้นตรง และแถวที่1และ แถวที่2 ต้องเหลื่อมกันอย่างน้อย 30 ซม.สลับกันไปโดยตลอด สำหรับบริเวณขอบผนังควรใช้ตัวกั้นที่มีความหนา 10-15 มม. กั้นระหว่างพื้นไม้กับผนังตลอดเพื้อกันการเคลื่อนตัวและเพื่อเว้นระยะให้ไม้ขยายตัว
7. กรณีผนังที่เอียงมาก ให้เว้นห่างจากผนังโดยจุดที่แคบที่สุดต้องมีระยะห่างจากผนัง 30 มม. และจุดที่กว้างสุดต้องไม่เกิน 18.5 มม.
8. การต่อไม้พื้น ให้ต่อชนชิดด้านหัวก่อน เมื่อต่อเสร็จทุกแถว ต้องใส่ตัวกั้นที่มีความหนา 10-15 มม. กั้นให้แน่นทุกแถวเพื่อกันการขยับตัวหนีและเว้นระยะให้ไม้พื้นขยาย ตัว
9. ปูพื้นต่อไปจนสุดห้อง แถวสุดท้ายให้วัดระยะห่างถึงผนัง มีระยะเท่าไรลบออก 10 มม. แล้วตัดขนาดใส่จนเต็มพื้นที่ พร้อมใส่ตัวกั้นให้ครบทุกจุด
10. การติดบัวผนัง ตัวจบ ธรณีประตู สามารถใช้ได้ทั้งแบบใช้อุปกรณ์ โดยใช้แม๊กซ์ยิงปูน หรือการใช้กาวยางสังเคราะห์อเนกประสงค์แรงยึดสูง
    - ความยาวบัวผนังที่ใช้ ให้วัดทุกด้านของห้อง รวมทั้งขอบของเสา
    - ตัวจบต่างระดับ,ตัวจบระดับเดียวกัน, ตัวจบธรณีประตู ให้วัดตามความยาวจริงของพื้นที่ที่ติดตั้ง
11. การใช้กาวยางสังเคราะห์อเนกประสงค์แรงยึดสูง สามารถยึดติดกับวัสดุต่างๆ เช่น คอนกรีต อลูมิเนียม กระจก หินอ่อน หรือวัสดุที่มีผิวเรียบมัน
    - สามารถใช้กาวร้อนช่วยยึดให้บัวและผนังยึดติดกันเร็วขึ้น
12.ใช้ซิลิโคนชนิดใส บริเวณขอบบัวด้านล่างกับพื้นให้ใช้เฉพาะตำแหน่งที่มีความห่างกันมากหรือบริเวณหน้าห้องน้ำ ห้ามยาซิลิโคนตลอดแนวเพื่อที่ด้านใต้ของพื้นสามารถมีการถ่ายเทอากาศได้
13. ใช้ซิลิโคนชนิดสีขาว ระหว่างขอบบัวด้านบนกับผนัง เฉพาะจุดที่มีความห่างเท่านั้น
14. ใช้ซิลิโคน(ชนิด Gap Filler) ผสมสีฝุ่นสำหรับอุดและโป๊วพื้น ธรณี หรือจุดที่มีความห่าง
เพียงเท่านี้ท่านก็จะมีพื้นที่สวยงามและคงทนไปอีกนาน
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก gt-property.com

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น